Leaderboard Ad

ความหมายวนานันทอุทยาน

อาณาบริเวณพื้นที่ป่าไม้และธรรมชาติ สวยงาม อุดมสมบูรณ์ เมื่อสรรพสิ่งมีชีวิตอยู่อาศัย รื่นรมย์ มีความสุข ซึ่งหมายถึง อาณาบริเวณของวิทยาเขตฯ มีลักษณะของความเป็นวนานันทอุทยาน อันเป็นบริเวณพื้นที่รักษาให้คงอยู่ในสภาพธรรมชาติป่าไม้ เพื่อประโยชน์แก่การศึกษาค้นคว้าและวิจัยและความรื่นรมย์      

พื้นที่วนานันทอุทยาน 4,700 ไร่ 

แบ่งตามลักษณะการใช้งานพื้นที่ออกเป็น

  • พื้นที่อนุรักษ์ 1,000 ไร่
  • พื้นที่เพื่อการศึกษา 1,400 ไร่
  • พื้นที่เพื่อการค้นคว้าและวิจัย 1,600 ไร่
  • พื้นที่ทะเลสาบหนองหารเฉลิมพระเกียรติ 700 ไร่

นโยบายหลักของการพัฒนาพื้นที่

อนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรและความหลากหลายทางชีวภาพและได้วางมาตรการไว้ดังนี้

  • บริเวณที่มีสภาพเป็นป่าไม้ อนุรักษ์ ทำนุบำรุง และดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง เป็นพื้นที่อุทยานธรรมชาติวิทยาป่าอนุรักษ์
  • บริเวณที่มีสภาพเป็นป่าไม้เสื่อโทรม ฟื้นฟู ปรับปรุง และดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง เป็นพื้นที่อุทยานเกษตร อุทยานป่าพัฒนา อุทยานต่างๆ และอ่างเก็บน้ำ

วนานันทอุทยานประกอบด้วย

อุทยานป่าอนุรักษ์ อุทยานเกษตร อุทยานป่าพัฒนา อุทยานต่างๆ และอ่างเก็บน้ำ ที่เรียงรายและรายล้อมอาณาบริเวณ ได้แก่

  • อุทยานหนองหารเฉลิมพระเกียรติ
  • อุทยานธรรมชาติวิทยาป่าเต็งรังเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา บรมราชินีนาถ
  • อุทยานเกษตร 50 พรรษา วชิราลงกรณ
  • อุทยานถิ่นมั่นในพุทธธรรม (บริเวณอ่างเก็บน้ำสกลนคร)
  • อุทยานพระพิรุณทรงนาค (บริเวณอ่างเก็บน้ำนครพนม)
  • อุทยานนนทรีสีทอง (บริเวณอ่างเก็บน้ำหนองคาย)
  • อุทยานภูพานเฉลิมพระเกียรติ (บริเวณอ่างเก็บน้ำมุกดาหาร)
  • อุทยานพิทักษ์เชียงเครือ (บริเวณอ่างเก็บน้ำอุดรธานี เหนือและใต้)
  • อุทยานแม่รังลูกรัง (บริเวณอ่างเก็บน้ำกาฬสินธุ์)
  • อุทยานบ้านเชียงเครือ (บริเวณอาคารชุดพักอาศัย)
  • อุทยานสนามบิน (บริเวณสำนักงานเก่า)
  • อุทยานการจัดการดินลูกรังและพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติป่าเต็งรัง (บริเวณด้านข้างอาคารบริหาร)
  • อุทยานคืนกล้วยไม้สู่วนานันทอุทยาน (บริเวณด้านหน้าอาคารปฏิบัติการรวม)
อุทยาน
0

ลานปรัชญา

เป็นการประยุกต์นำเสาคอนกรีตที่ทำด้วยทรายล้างจากอาคารเทคโนโลยีสารสนเทศ (อาคาร 9)  มาใช้ให้เกิดประโยชน์ โดยมุ่งเน้นในด้านการใช้เป็นสัญลักษณ์ที่สื่อถึงภารกิจหลัก 4 ประการของมหาวิทยาลั…