Leaderboard Ad

ระบบชลประทาน

0

โครงการชลประทานและการกระจายน้ำ

 โครงการชลประทานและการกระจายน้ำ อุทยานเกษตร 50 พรรษา มหาวชิราลงกรณ เป็นโครงการความร่วมมือระหว่างกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร เพื่อพัฒนาแหล่งน้ำเก็บไว้ใช้ภายในวิทยาเขตฯ โดยเริ่มตั้งแต่ ปี 2541 ณ ปัจจุบันวิทยาเขตฯมีอ่างเก็บน้ำ จำนวน 6 อ่าง ได้แด่ อ่างสกลนคร อ่างนครพนม อ่างหนองคาย อ่างมุกดาหาร อ่างกาฬสินธุ์ อ่างอุดรธานี และมีการขุดคลองส่งน้ำ (แบบคลองเปิด) เพื่อนำน้ำจากเขื่อนน้ำอูนมาช่วยเสริมแหล่งน้ำที่มีอยู่แล้วภายในวิทยาเขตฯ รวมทั้งมีการวางระบบการกระจายน้ำในพื้นที่ อุทยานเกษตร 50 พรรษา มหาวชิราลงกรณ ซึ่งจะทำให้ระบบการบริหารน้ำมีความสมบูรณ์ และเพียงพอต่อปริมาณการใช้ประโยชน์ในอนาคต อีกพื้นที่หนึ่งที่มีความสำคัญ คือ อุทยานหนองหารเฉลิมพระเกียรติ ที่วิทยาเขตฯ ได้รับความอนุเคราะห์จากกรมชลประทานในการขุดลอก และก่อสร้างถนนภายใน รวมทั้งก่อสร้างโรงสูบน้ำภายในอุทยานหนองหารเฉลิมพระเกียรติ

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร ขอขอบคุณกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตลอดทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องทุกท่านที่ได้ดำเนินการพัฒนาระบบชลประทานในวิทยาเขตฯ ให้แล้วเสร็จสมบูรณ์แบบ

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร ได้เล็งเห็นความสำคัญของความร่วมมือในครั้งนี้ จึงได้จัดทำเอกสาร โครงการชลประทานและการกระจายน้ำ อุทยานเกษตร 50 พรรษา มหาวชิราลงกรณ ขึ้นเพื่อสรุปผลสำเร็จของความร่วมมือระหว่างกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ต และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร ในการพัฒนาระบบชลประทานและการกระจายน้ำภายในวิทยาเขตฯ ให้มีระบบการจัดน้ำที่สมบูรณ์และเพียงพอ รวมทั้งให้เป็นแหล่งการเรียนรู้ระบบการกระจายน้ำที่สมบูรณ์ในภูมิภาค

การพัฒนาระบบชลประทานของมหาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร โดยกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ความสำเร็จของการร่วมมือระหว่างหน่วยงานเพื่อสนับสนุนการขยายโอกาสทางการศึกษาอีกทางหนึ่ง คือ การร่วมมือกับกรมชลประทานในการพัฒนาแหล่งน้ำที่จะเก็บไว้ใช้ในวิทยาเขตฯ ซึ่งกรมชลประทานได้ให้ความอนุเคราะห์สนับสนุนในเรื่องการพัฒนาแหล่งน้ำในการส่งน้ำให้แก่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร โดยเริ่มตั้งแต่ ปี 2541 จนถึงปัจจุบัน

การดำเนินงานของกรมชลประทานในปีงบประมาณ 2544 -2548

ได้มาการขุดอ่างเพิ่มอีกจำนวน 2 อ่าง โดยกรมชลประทานในฟาร์มมหาวิทยาลัย ได้แก่ อ่างกาฬสินธุ์ อยู่ทางด้านทิศตะวันตกของพื้นที่สามารถเก็บน้ำได้ถึง 150,000 ลูกบาศก์เมตร

และอ่างที่ 2 ชื่อ อ่างอุดรธานีอยู่ทางด้านทิศเหนือของพื้นที่ สามารถเก็บน้ำได้ถึง 300,000 ลูกบาศก์เมตร ได้นำดินลูกรังมาถมแนวถนนภายในพื้นที่ฟาร์มประมาร 15 กิโลเมตร

โครงการขุดคลองส่งน้ำเพื่อนำน้ำจากเขื่อนน้ำอูนมายังวิทยาเขตฯโดยมีระยะทางตลอดโครงการประมาณ 8 กิโลเมตร ซึ่งในระยะแรกได้ดำเนินการเป็นระยะทาง 3.5 กิโลเมตร (ถึงบ้านหนองหอย) และในปี 2545 -2546 ดำเนินการในระยะที่ 2 เป็นระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตร (ถึงอ่างมุกดาหาร) ในระยะที่ 3 ในปี 2548 -2549 เป็นระยะทางประมาณ 1.5 กิโลเมตร (ถึงอ่างสกลนคร) เพื่อใช้ในการผลิตน้ำประปาและการเกษตร

การดำเนินงานของกรมชลประทานในปีงบประมาณ 2549 -2551

ได้มีการวางระบบน้ำและระบบกระจายน้ำในพื้นที่ อุทยานเกษตร 50 พรรษา มหาวชิราลงกรณ โดยได้รับความอนุเคราะห์จากกรมชลประทานในการของบประมาณมาก่อสร้างปี 2550 และได้ทำสัญญา ตกลงกับบริษัท เนต้าฟิม (ประเทศไทย) และได้ดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว คาดว่างจะทำระบบการบริหารจัดการน้ำตลอดทั้งวิทยาเขตฯ มีความสมบูรณ์และเพียงพอต่อปริมาณการใช้ในอนาคต

แผนการดำเนินงานของกรมชลประทานในปีงบประมาณ 2552

ในปีงบประมาณ 2552 เป็นระยะที่ 3 ของการติดตั้งระบบการกระจายน้ำเพื่อการเกษตร ในวงเงิน 21 ล้านบาท ซึ่งประกอบไปด้วยคลังวัสดุ อุปกรณ์ และ เครื่องจักรการเกษตร ศูนย์สาธิตการส่งน้ำด้วยระบบท่อรับแรงดัน และระบบ Big gun 2 ชุด ซึ่งจัดตั้งในพื้นที่ แปลง A1 ในแปลง E1 ปรับภูมิทัศน์อุทยานบ้านเชียงเครือ พร้องติดตั้งระบบพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อใช้ในระบบการเกษตรแบบพอเพียง และระบบน้ำหยดให้แก่พืชพลังงานจำพวกสบู่ดำและปาล์มน้ำมัน ส่วนในแปลงA3 ติตุงถังเก็บน้ำขนาด 125 ลบ.ม. และระบบปั๊มน้ำให้แก่ฟาร์มปศุสัตว์

อุทยานเกษตร 50 พรรษา มหาวชิราลงกรณ

ในวโนกาสที่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงพระเจริญพระชนมายุได้ 50 พรรษาในปีพุทธศักราช 2545  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร ได้จัดตั้งฟาร์มเกษตรตัวอย่างบนพื้นที่ 2,000 ไร่ เพื่อเป็นพื้นที่สาธิตและวิจัยฟาร์มเกษตรตัวอย่าง สำหรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน การเรียนการสอนและการวิจัยเพื่อศึกษาหาความรู้และพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับถ่ายทอดสู่เกษตรกรภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน โครงการพระราชดำริ โครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทางด้าน พืช สัตว์ ดิน และปุ๋ย ประมงชลประทาน ป่าไม้ ปฏิรูปที่ดิน การบัญชี การสหกรณ์ และอื่นๆ โครงการเทคโนโลยีการเกษตรผสมผสาน ด้านการผลิตสัตว์ โครงการศึกษาและพัฒนาระบบแก๊สชีวภาพ และโครงการต้นแบบการจัดการทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ สวนผลไม้ พืชผัก และสมุนไพร พื้นที่ดังกล่าว ได้รับชื่อว่า อุทยานเกษตร 50 พรรษา มหาวชิราลงกรณ และพระราชทานตราสัญลักษณ์ มวก. ประดิษฐานบนป้ายอุทยานฯด้วย

อุทยานเกษตร 50 พรรษา มหาวชิราลงกรณ มีพื้นที่ 2,000 ไร่ แบ่งพื้นที่เป็นพื้นที่สำหรับการเรียนการสอนของคณะทรัพยากรธรรมชาติและอุตสาหกรรมเกษตร ซึ่งประกอบด้วยพื้นที่สำหรับพืชไร่ พืชสวน ฟาร์มสัตว์ และได้แบ่งพื้นที่สำหรับงานวิจัย และวิจัยเชิงธุรกิจ มีอ่างรองรับระบบเกษตรอยู่ 4 อ่าง คือ อ่างกาฬสินธุ์เหนือ อ่างกาฬสินธุ์ใต้ อ่างอุดรเหนือ และอ่างอุดรใต้ มีปริมาณการกักเก็บน้ำไดประมาณ 150,000 80,000 350,000 และ 250,000 ลบ.ม. ตามลำดับ และมีระบบการกระจายน้ำที่ทันสมัยเพื่อรองรับงานการเรียนการสอน และงานวิจัย

ระบบการกระจายน้ำภายในอุทยานเกษตร 50 พรรษา มหาวชิราลงกรณ

ระบบการกระจายน้ำภาย ของ อุทยานเกษตร 50 พรรษา มหาวชิราลงกรณ ได้รับความอนุเคราะห์จากกรมชลประทานในการของบประมารการก่อสร้างปี 2550 และได้ทำสัญญาตกลงกับบริษัท เนต้าฟิม (ประเทศไทย) จำกัด ตามสัญญาเลขที่ สชป.5/นอ. จ.2550 วงเงินค้าจ้าง 24,300,000 บาท ระยะการก่อสร้าง 360 วัน โดยเริ่มนับอายุสัญญา วันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ.2550 และดำเนินพื้นที่การกระจายน้ำดังนี้

1.แปลง B1

แปลง B1 มีพื้นที่ประมาณ 108 ไร่ ประกอบไปด้วยอาคารสูบน้ำไฟฟ้า เครื่องจ่ายปุ๋ย และระบบการกระจายน้ำแบบ Sprinkler ชนิด Impact sprinkler และ Reel machine ที่เป็นแบบ Big gun และ Boom spray เพื่อรองรับการปลูกธัญพืชและพืชอาหารสัตว์

2.แปลง B2

แปลง B2 มีพื้นที่ประมาณ 84 ไร่ ประกอบไปด้วย อาคารสูบน้ำเพิ่มแรงดัน เครื่องสูบน้ำไฟฟ้า เครื่องจ่ายปุ๋ย และระบบการกระจายน้ำแบบ Linear Move เพื่อรองรับการปลุกพืช พืชเศรษฐกิจ และพืชอาหารสัตว์

3.แปลง C1

แปลง C1 มีพื้นที่ประมาณ 163 ไร่ ประกอบไปด้วย อาคารสูบน้ำเพิ่มแรงดัน เครื่องสูบน้ำไฟฟ้า เครื่องจ่ายปุ๋ย และระบบการกระจายน้ำแบบ Center pivot เพื่อรองรับการปลูกอ้อย ข้าวโพด และพืชไร่เศรษฐกิจ

4.แปลง D1

แปลง D1มีพื้นที่ประมาณ 150 ไร่ ประกอบไปด้วยท่อส่งน้ำที่ติดตั้งระบบ Hydrant valve เพื่อเชื่อมเข้าสู่ระบบการกระจายน้ำแบบ Furrow หรือ Gated pipe เพื่อรองรับการปลูกอ้อย ข้าวโพด และพืชไร่เศรษฐกิจ

5.แปลง D2

แปลง D2 มีพื้นที่ประมาณ 40 ไร่ ประกอบไปด้วย อาคารสูบน้ำเพิ่มแรงดัน เครื่องสูบน้ำไฟฟ้า เครื่องจ่ายปุ๋ย และระบบการกระจายน้ำแบบ Mini sprinkler และ Drip line dripper , Online dripper เพื่อรองรับการปลูกพืชผัก

6.แปลง E2

แปลง E2 มีพื้นที่ประมาณ 38 ไร่ ประกอบไปด้วย อาคารสูบน้ำเพิ่มแรงดัน เครื่องสูบน้ำไฟฟ้า เครื่องจ่ายปุ๋ย และระบบการกระจายน้ำแบบ Mini sprinkler และ Online dripper เพื่อรองรับการปลูกพืชผัก และปาล์มน้ำมัน

7.แปลง E3

แปลง E3 มีพื้นที่ประมาณ 40 ไร่ ประกอบไปด้วย อาคารสูบน้ำเพิ่มแรงดัน เครื่องสูบน้ำไฟฟ้า เครื่องจ่ายปุ๋ย และระบบการกระจายน้ำแบบ Mini sprayer และ line dripper , Mini sprinkler dripper เพื่อรองรับการปลูกพืชสวน และสมุนไพร

8. แปลง F1

แปลง F1มีพื้นที่ประมาณ 26 ไร่ ประกอบไปด้วย อาคารสูบน้ำเพิ่มแรงดัน เครื่องสูบน้ำไฟฟ้า เครื่องจ่ายปุ๋ย พร้อมระบบการให้น้ำแบบท่อน้ำหยดชนิดปรับแรงดันที่เป็นระบบ Online dripper ที่ควบคุมด้วยระบบ Controller 9 station 24 VAC เพื่อรองรับการปลูกพืชพลังงานทดแทน และสบู่ดำ

9.แปลง F2

แปลง F2 มีพื้นที่ประมาณ 43 ไร่ ประกอบไปด้วย อาคารสูบน้ำเพิ่มแรงดัน เครื่องสูบน้ำไฟฟ้า เครื่องจ่ายปุ๋ย และระบบการกระจายน้ำแบบ Micro sprayer และ Sprinkler เพื่อรองรับการปลูกไม้ผล

 

งบประมาณการก่อสร้างระบบชลประทานและการกระจายน้ำ

การก่อสร้างระบบชลประทาน และการกระจายน้ำ เริ่มเมื่อปี พ.ศ. 2544 โดยก่อสร้างคลองส่งน้ำ R – 16L -2R ระยะที่1 ในช่วงปี พ.ศ. 2544 -45 งบประมาณ  14, 200,000 บาท งานก่อสร้างคลองส่งน้ำ R – 16L -2R ระยะที่2 ในช่วงปี พ.ศ. 2546 -47 งบประมาณ  12, 850,000 บาท งานก่อสร้างคลองส่งน้ำ R – 16L -2R ระยะที่3 ในช่วงปี พ.ศ. 2548 -49 งบประมาณ  5, 660,876.76 บาท  งานก่อสร้างระบบการส่งน้ำในพื้นที่อุทยานเกษตร 50 พรรษา มหาวชิราลงกรณ ในปี พ.ศ.2549-50 งบประมาณ 34,800,000 บาท และงานก่อสร้างและติดตั้งระบบการกระจายน้ำเพิ่มเติม ในปี พ.ศ.2550-51 งบประมาณ 24,300,000 บาท รวมงบประมาณที่ได้รับการสนับสนุนจากกรมชลประทาน เป็นเงิน 91,810,876.76 บาท (ไม่รวมงบประมาณก่อสร้างอ่างเก็บน้ำและพัฒนาอุทยานหนองหารเฉลิมพระเกียรติ ซึ่งประมาณ 67,855,600 บาท) ในปีงบประมาณ 2552 เป็นระยะที่ 3 ของการติดตั้ง ระบบการการกระจายน้ำเพื่อการเกษตร ในวงเงิน 21 ล้านบาท ซึ่งประกอบไปด้วยคลังวัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องจักรการเกษตร ศูนย์สาธิตส่งน้ำด้วยระบบท่อรับแรงดัน และระบบ Big gun 2 ชุด ซึ่งจัดจังในพื้นที่แปลง A1 ในแปลง E1 ปรับภูมิทัศน์อุทยานบ้างเชียงเครือ พร้อมติดตั้งระบบพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อใช้ในระบบการเกษตรแบบพอเพียง และระบบน้ำหยดให้แก่พืชพลังงานจำพวกสะบู่ดำและปาล์มน้ำมัน ส่วนในแปลง A3 ติดตั้งถังเก็บน้ำขนาด 125 ลบ.ม. และระบบปั๊มน้ำให้แก่ฟาร์มปศุสัตว์

 

 

         

 

แชร์ :

ข้อมูลผู้เขียน